Etiam placerat

Encuesta

ผู้ติดตาม

งาน Story board คับ

งานของกลุ่มกระผมเป็นงานเกี่ยวกับหมวดสาระ สังคมศึกษา
โดยมี สมาชิก ดังนี้
1.นรังสรรค์ มีสุข(แบงค์)
2.ณัฐพล แวงดา (เกมส์)
3.สันติภาพ แสงศรีจันทร์(เบ้)
กลุ่มของกระผมจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษณ์วัฒนธรรมไทย โดยจะไปทำไหว้พระ บุญตักบาตรและฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดกันครับ
ฉากแรก ผมทั้ง 3 คนจะออกมาแนะนำตัวและพูดเกี่ยวกับการอนุรักษณ์วัฒนธรรมไทยครับ
แบงค์:สวัสดีครับ ผมนายนรังสสรรค์ มีสุข ครับ
เกมส์:สวัสดีครับ ผมนายณัญพล แวงดา ครับ
เบ้:สวัสดีคัรับ ผมนายสันติภาพแวงศรีจันทร์ ครับ
แบงค์:เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้น ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ
เบ้:และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ
เกมส์:วันนี้เราเลยจะมาทำบุญตักบาตรและเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกันครับ ไปเลยคับ
ฉาก 2
พวกผมจะตื่นเช้ามาทำบุญกัน
ฉาก3
เป็นแกที่พวกผมจะเข้าไปในวัดและไปไหว้พระกัน
เมื่อเสร็จแล้วก็จะไปหยอดเหรียญใส่บาตรครับ
จากนั้นก็จะฟังเทศน์ฟังทำครับ
ฉากที่ 4
พวกผมจะออกมากล่าวขอบคุณเพื่อนจบการนำเสนอคลิป
เบ้:การทำบุญไม่จำเป็ฯต้องทำในวัด หรือตักบาตรเท่านั้นแค่เพียงเราให้ของผู้ยากไร้ก็ถือเป็นการทำบุญแล้ว
แบงค์:สำหรับคลิปที่พวกเรานำเสนอนี้อาจจะมีผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยคับ
เกมส์:และการทำวีดีโอคลิปพวกเราก็ได้จบลงเพียงเท่านี้
แบงค์,เกมส์,เบ้:ขอบคุณครับ

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง

รูปภาพ





สาขาแพทย์คับ

1.อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (อังกฤษ: Internal medicine; เรียกย่อๆ ว่า medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะ ทางซึ่งเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ โดยการใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเกี่ยวกับอวัยวะภายใน เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้าน อายุรศาสตร์ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์

2.สูตินรีเวชวิทยา

สูตินรีเวชวิทยา (อังกฤษ: Obstetrics and Gynaecology) หรือที่มักย่อว่า OB/GYN, O&G หรือ Obs & Gynae เป็นวิชาศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง เป็นสาขาวิชาที่รวมเอาการแพทย์เฉพาะทาง 2 สาขาวิชาคือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาเข้าด้วยกัน มักเปิดสอนร่วมกันในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน (หลังจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต) การฝึกวิชาสูตินรีเวชวิทยาเกี่ยวข้องกับการจัดการพยาธิวิทยาคลินิกของระบบ สืบพันธุ์เพศหญิง และการดูแลผู้ป่วยทั้งที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์และไม่ได้ตั้งครรภ์

3.ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสอบสวนอาการหรือรักษาภาวะทางพยาธิวิทยา เช่น โรคการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ หรือ

ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้าน ศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติ สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

4.ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์[1] หรือ ออร์โทพีดิกส์ (อังกฤษ: Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งทางด้านกายภาพ รวมทั้งการบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป และความผิดปกติของระบบโครงกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย

5.จิตเวชศาสตร์

จิตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง ศาสตร์ทางด้านการแพทย์ที่ศึกษาโรคทางด้านจิตใจ ต่างกับ คำว่า

สาขาทางจิตเวชศาสตร์

  1. จิตเวชศาสตร์ทั่วไป คือ ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชที่พบในผู้ใหญ่ เช่น โรคสมองเสื่อมโรคซึมเศร้า โรคจิต
  2. จิตเวชศาสตร์เด็ก และ วัยรุ่น ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชในเด็ก และ วัยรุ่น เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก
6.โสตศอนาสิกวิทยา

โสตศอนาสิกวิทยา (อังกฤษ: Otolaryngology) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก

รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto = รากศัพท์แปลว่าหู, laryngo = รากศัพท์แปลว่ากล่องเสียงหรือช่องคอ, logy = การศึกษา) แปลตามตัวหมายถึงการศึกษาหูและคอ คำเต็มอาจเรียกว่า ωτορινολαρυγγολογία (otorhinolaryngology) ซึ่งเพิ่มคำว่า rhino ซึ่งเป็นรากศัพท์หมายถึงจมูกลงไปด้วย

7.พยาธิวิทยา

พยาธิวิทยา (อังกฤษ: Pathology) เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาคพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย (Anatomical pathology) และ

วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิต เนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology)

ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพทย์

8.รังสีวิทยา

รังสีวิทยา (อังกฤษ: Radiology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ซึ่งใช้เครื่องมืออาทิเอกซเรย์การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อสร้างภาพของร่างกายมนุษย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค แบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อย ได้แก่ รังสีวินิจฉัย (diagnostic radiology), รังสีรักษา (therapeutic radiology หรือ oncoradiology) และ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (nuclear medicine)

9.กุมารเวชศาสตร์

กุมารเวชศาสตร์ (อังกฤษ: pediatrics, paediatrics) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ และ

คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก

10.เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรืองานเวชกรรมฟื้นฟู จัดว่าเป็น 1 ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (ได้แก่ "ส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค - รักษาโรค - ฟื้นฟูสมรรถภาพ) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation (PM&R) หรือ Physiatry (อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตรี้) ก็ได้

งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเอง ก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆด้านของการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งหมด ขึ้นกับบุคคลนั้นต้องการให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านใด ณ ที่นี้ ยกตัวอย่างการฟื้นฟูด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Educational rehabilitation) เป็นต้น

งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นงานที่ท้าทายและเป็นที่รู้จักสนใจในวงกว้าง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงการเอาใจใส่จากภาครัฐได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่มีรับการฟื้นฟูนั้น ย่อมเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ที่มีสมรรถภาพทางร่างกายไม่ดีนัก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนัก ทั้งในระดับนโยบาย ระดับโรงพยาบาล และในประชาชนทั่วไป

1 คำจำกัดความ

2 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

3 การรักษาและฟื้นฟูด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

4 เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทย

5 เวชศาสตร์ฟื้นฟูในต่างประเทศ

6 ดูเพิ่ม

7 อ้างอิง

8 แหล่งข้อมูลอื่น



คำจำกัดความ

เป็นการบริการทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง เพื่อตรวจประเมิน รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการใช้ยา การทำหัตถการ การใช้เครื่องมือ การออกกำลังกายจำเพาะ การให้คำแนะนำทางการแพทย์ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือหรือทดแทน หรือวิธีการอื่นๆ อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเป็นซ้ำหรือภาวะแทรกซ้อนให้กับบุคคลทั่วไป และผู้ป่วยที่มีความพิการหรือสมรรถภาพเสื่อมถอย ทั้งทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางการเรียนรู้ ทางการสื่อความหมาย และทางจิตใจ โดยใช้บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหลายๆสาขา ร่วมกันให้การรักษาและฟื้นฟู เพื่อส่งเสริมศักยภาพที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยนั้นๆ ให้สามารถดำรงชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมได้ เพื่อให้เป็นภาระต่อคนรอบข้างและสังคมให้น้อยที่สุด อีกทั้งยังช่วยสร้างชื่อเสียง (เช่น เป็นนักกีฬา) หรือพัฒนาประเทศต่อไปได้ตามความสามารถ

11.เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: Emergency medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดฉับพลันและต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน


*สำหรับบางสาขาผมอาจจะไม่ได้เอามาลงให้ดูน่ะกับก็ขอโทษด้วย

และบางข่้อความอาจจะผิดพลาดไปก็ขอโทษเอาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

นักศึกษาแพทย์ นักเรียนแพทย์ หรือ นิสิตแพทย์

นักศึกษาแพทย์ นักเรียนแพทย์ หรือ นิสิตแพทย์ คือบุคคลซึ่งศึกษาในโรงเรียนแพทย์ในหลักสูตรเกี่ยวกับแพทยศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นแพทย์ การศึกษาในระดับนักศึกษาแพทย์นับว่าเป็นขั้นแรกสุดของลำดับการศึกษาของ วิชาชีพนี้ ในการรับเข้าศึกษาเพื่อเป็นนักเรียนแพทย์ในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน ในบางประเทศเช่นประเทศไทยจะมีระบบการรับนักเรียนเข้าเป็นส่วนกลาง

ในระหว่างการศึกษา นักศึกษาแพทย์จะต้องศึกษาทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและปฏิบัติงานด้านคลินิก หลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษานั้นแตกต่างกันออกในในแต่ละประเทศและแต่ละ สถาบัน โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมี ระยะเวลา 6 ปี ประกอบด้วยระดับชั้นปรีคลินิก (pre-clinical years) ซึ่งศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Basic medical science) 3 ปี และระดับชั้นคลินิก (clinical years) ซึ่งศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกและปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย 3 ปี โดยในปีสุดท้ายจะเรียกว่านักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติ (externship) ที่ทำหน้าที่รับ ดูแลผู้ป่วย และเรียนรู้หัตถการพื้นฐานที่จำเป็นภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน

นักศึกษาแพทย์ในประเทศไทยจะต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถในการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งสอบทั้งประเทศและการประเมินความรู้รวบยอดของสถาบัน เพื่อรับปริญญาบัตร หลังจากสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และโดยทั่วไปจากสัญญาที่ได้ทำไว้ก่อนเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ บัณฑิตแพทย์จะต้องเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (internship) หรือที่เรียกกันว่าแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่ได้รับการจัดสรร เป็นระยะเวลา 1 ปี และในโรงพยาบาลชุมชนอีก 2 ปี หรืออาจสมัครเพื่อเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะและศึกษาแพทย์เฉพาะทางตามโรงเรียนแพทย์ในบางจังหวัดหรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกที่เปิดรับสมัครเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี

เรียนแพทย์...มีข้อดีข้อเสียคือ

ถ้าเรียนแพทย์...มีข้อดีคือ
1. ได้ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย
2. ได้ดูแลสุขภาพ ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย
3. สามารถให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพแก่คนอื่นๆ
ฯลฯ
ถ้าเรียนแพทย์...มีข้อเสียคือ
1. เหนื่อย
2. มีเวลาส่วนตัวน้อย ยกเว้่นทำงานในชุมชน และแพทย์เฉพาะทางบางสาขา
3. ถูกฟ้องร้องได้ง่าย ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะเจอได้ ซึ่งมันแล้วแต่ว่าเราจะรับได้แค่ไหนกัน
รับได้ก็บอกว่าดี ไม่เหนื่อยเท่าไหร่ ถ้ารับไม่ได้ก็เครียด เบื่อ เรียนไม่ไหว

แพทย์

แพทย์ (อังกฤษ: physician, doctor) หรือเรียกเป็นภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบทแพทย์อาจถูกเรียกเป็น "หมอใหญ่" เพื่อเลี่ยงความสับสนกับการเรียกพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข ต่างๆ แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้กับผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ


การเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี ที่หกเพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียนตามโครงการต่างๆ อีกหลายโครงการ

การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า ปรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทอร์น (Extern)

แพทย์จบใหม่ในประเทศไทย

เมื่อนักเรียนแพทย์ในประเทศไทยศึกษาจบแพทยศาสตรบัณฑิต บัณฑิตแพทย์ต้องมีการทำงานหรือการชดใช้ทุนของแพทย์เป็น เวลา 3 ปี โดยกำหนดให้ทำงานให้รัฐบาล ซึ่งหากผิดสัญญาต้องจ่ายค่าชดเชยให้รัฐตามแต่สัญญาซึ่งทำไว้ตั้งแต่ก่อนเข้า รับการศึกษากำหนด ในปีแรกแพทยสภากำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเรียกระยะนี้ว่า อินเทอร์น (Intern)

แพทย์เฉพาะทาง

หลังจากที่บัณฑิตแพทย์สำเร็จการศึกษาออกมาและได้เพิ่มพูนทักษะตามจำนวนปีที่แพทยสภา (Medical concils of Thailand) เป็นผู้กำหนดแล้ว สามารถสมัครเพื่ออบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน (Medical Resident) และเมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทางได้ต่อไป